วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

การนั่งสมาธิ

มาฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดีกว่า




ก่อนฝึกสมาธิ

           ควรอาบน้ำ ล้างหน้า ล้างมือ ล้างเท้าก่อน เพื่อให้ตัวรู้สึกสบายมากที่สุด เมื่อร่างกายสงบ จิตใจจะสงบได้ง่ายขึ้น

          หาสถานที่สงบ ไม่มีคนพลุกพล่านจอแจ อากาศถ่ายเท เย็นสบาย เพื่อให้เข้าถึงสมาธิได้เร็วมากขึ้น

          พยายามตัดความกังวลทุกอย่างออกไป เช่น ควรจัดการงานที่คั่งค้างอยู่ในเสร็จก่อนเริ่มทำสมาธิ เพื่อไม่ให้ห่วงหน้าพะวงหลัง

          อย่าตั้งใจมากเกินไป ว่าจะต้องให้ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเคร่งเครียดมากขึ้น จิตใจจะพะวงไปแต่อนาคต ไม่สามารถควบคุมจิตใจให้อยู่ ณ ปัจจุบัน


มารยาทไทย



            ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทย ประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย ตามคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ๖๓๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยมี นายพะนอม แก้วกำเนิด เป็นประธานในการดำเนินงาน และได้ประชุมปฏิบัติการเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการร่วม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการจัดทำองค์ความรู้ดังกล่าว ก็เพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมด้านมารยาทไทยอันเป็นรูปแบบปฏิบัติของคนไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทย ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้


วัฒนธรรมและประเพณีไทย


     
   ที่มาของวัฒนธรรมไทย


  • สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     ประเพณีแข่งเรือ



  • ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น
  • ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ
  • การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก